คาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber) คืออะไร?


คาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber) คืออะไร? คาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber) เป็นวัสดุทางวิทยาศาสตร์ ที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบอย่างน้อยร้อยละ 90  โดยในกระบวนการผลิตคาร์บอนไฟเบอร์นั้น จะนำเส้นใยพลาสติก Poly acrylonitrile (โพลิอะคลิโลไนไทรล์) หรือที่เรียกย่อๆว่า PAN ที่ใช้ในการผลิตผ้าเรยอน (rayon) ที่เรารู้จักกันดี โดยการเอาโมเลกุลที่ไม่มีความแข็งแรงเหล่านี้ มาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีกันใหม่ ซึ่งการผลิต คาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber) นั้นจะมีขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอน ได้แก่ Oxidation, Carbonization, Surface Treatment  และ Surface Coating โดยส่วนใหญ่แล้วเส้นใยคาร์บอนที่ผลิตได้นั้นจะถูกควั่นเป็นเส้นด้าย เมื่อนำเส้นใยคาร์บอนที่มีขนาดเล็กเหล่านี้มารวมกันจะได้เป็นคาร์บอนไฟเบอร์ที่มีคุณสมบัติโดดเด่น เพราะมีความแข็งแรงสูงกว่าเหล็ก แต่มีน้ำหนักเบา ต้านทานแรงดึงสูง  ทนต่อสารเคมี ทั้งนี้คาร์บอนไฟเบอร์อาจถูกนำไปใช้งานโดยตรงหรืออาจจะถูกนำไปถักทอกับอีพ็อกซี่ขึ้นรูปเป็นรูปทรงอื่นๆ ร่วมกับวัสดุคอมโพสิตอื่นๆ คาร์บอนไฟเบอร์จึงถูกนำไปใช้ในวงการอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การนำคาร์บอนไฟเบอร์มาใช้ในรูปของคอมโพสิทในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ชิ้นส่วนยานยนต์ อุปกรณ์กีฬา เช่น เฟรมจักรยาน ไม้เทนนิส และใบพัดกังหันลม เป็นต้น

 

บจ. วีเทค โค๊ตติ้ง แอนด์ เทคโนโลยี รับซ่อมแซมโครงสร้าง เสาโครงสร้าง ซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต เสริมโครงสร้างอาคาร เสริมกำลังอาคารด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ คาร์บอนไฟเบอร์คือวัสดุเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก และโครงสร้างไม้ ประเภทแผ่นโพลีเมอร์คาร์บอนใยเสริม (CFRP) ที่สามารถต้านทานการเกิดสนิม เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ต้องการรับน้ำหนักเพิ่ม โครงการที่มีการสั่นสะเทือน หรืองานซ่อมแซมโครงสร้าง

ซ่อมโครงสร้างอาคาร ซ่อมโครงสร้างเสา ซ่อมคานหัก แตกร้าว ตอม่อคอนกรีตแตกหลุดหรือยุบตัว น้ำซึมตามรอยแตกร้าวของโครงสร้าง เหล็กเสริมภายในเป็นสนิม คอนกรีตเพดานหลุดร่อนจนเห็นเหล็กเสริม แนะนำแนวทางการแก้ไข พร้อมงบประมาณในการซ่อม

ซ่อมแซมโครงสร้าง ซ่อมเสาโครงสร้าง งานซ่อมแซมแก้ไขโครงสร้าง คานแตกร้าว เสาระเบิด พื้นร้าว ซ่อมรอยแตกร้าว ซ่อมเสาแตกร้าว ให้กลับมาแข็งแรง ในสภาพปกติโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ย่อมเสื่อมสภาพตามการใช้งาน การซ่อมแซมโครงสร้างคือการยืดอายุการใช้งานเมื่อโครงสร้างเดิมเสื่อมสภาพ จึงต้องซ่อมแซมให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน ก่อนการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมโครงสร้าง ควรที่จะทำการตรวจสอบและประเมินความเสียหายของโครงสร้างก่อนเพื่อที่จะได้แก้ไขที่ตรงจุดที่เสียหายของโครงสร้าง เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม และเพื่อการซ่อมแซมโครงสร้างให้ใช้งานได้เหมือนเดิม วิธีการซ่อมแซมโครงสร้างของคอนกรีต มีหลากหลายวิธีด้วยกันอาทิเช่น    

1. การฉีดอัด (Injection) สำหรับรอยแตกร้าวขนาดเล็ก    

2. การเกราท์ (Grouting) สำหรับรอยแตกแยกที่มีขนาดกว้างกว่าการแตกร้าว    

3. การฉาบปะ (Patching) สำหรับรอยแตกร่อนบางส่วน ฉาบปะได้จากภายนอก    

4. การเท (Placing) สำหรับรอยแตกร่อนหรือเหล็กเดิมเป็นสนิม ต้องเทแทนด้วยคอนกรีตใหม่หรือหรือวัสดุใหม่โดยสิ้นเชิง    

5. การซ่อมแซมวิธีอื่น ผนังร้าว คานร้าว เสาระเบิด ซ่อมแซมโครงสร้าง ซ่อมรอยแตกร้าว พื้นร้าว เหล็กเสริมภายในเป็นสนิม น้ำรั่วซึมตามรอยแตกร้าวของโครงสร้าง คอนกรีตเพดานหลุดร่อนจนเห็นเหล็กเสริม

ซ่อมเสาโครงสร้าง การซ่อมโครงสร้างเสา ซ่อมแซมรอยร้าวเสาด้วย Epoxy Injection และเสริมกำลังเสาคอนกรีตเพื่อรับน้ำหนักบรรทุกเพิ่มด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon fiber)” โครงสร้างเสาคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นโครงสร้างที่สำคัญอย่างยิ่งของอาคาร เสาเมื่อรับน้ำหนักบรรทุกไม่ไหวจะเกิดการโก่งเดาะ โดยคอนกรีตช่วงกลางเสาจะระเบิดออกและเหล็กเสริมจะมีการหักงอได้ เมื่อเสาโก่งเดาะจะสร้างรอยร้าวบริเวณด้านที่ถูกดัดออกคือด้านที่โก่งตัวออก และเกิดรอยร้าวขึ้นเป็นปล้องๆ จากด้านที่โก่งเดาะดังนี้

งานเสริมกำลังคอนกรีต,โครงสร้าง,เสา,คาน,ด้วย Carbon-Fiber Reinforced Polymer (CFRP)  อาคารเก่าๆ ในหลายประเภท มีความจำเป็นที่ต้องทำการ เสริมกำลังโครงสร้าง เพื่อให้สามารถใช้สอยได้อย่างปลอดภัย การหุ้มเสาด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ เหมาะสำหรับเสาในอาคารที่มีขนาดใหญ่ เช่น เสาสะพาน อพาร์ทเมนต์ คอนโดมีเนียม อาคารสูง เช่นเดียวกับการหุ้มเสาด้วยแผ่นเหล็ก สำหรับแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ เป็นแผ่นที่เสริมด้วยเส้นใยคาร์บอน ที่มีกำลังรับน้ำหนักสูงมาก คือมากกว่าเหล็กแผ่นทั่วไปถึง 10 เท่า แผ่นคาร์บอนไฟเบอร์มีความบางสามารถนำไปพันรอบเสาได้โดยใช้กาวอีพอกซีเป็นตัวยึด ให้แผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ติดกับเสา เมื่อพันเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะได้เสาที่มีกำลังรับน้ำหนักสูงมาก แต่มีข้อเสียคือแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ยังมีราคาแพงอยู่ แต่มีข้อดีคือการก่อสร้างทำได้สะดวก และรวดเร็วกว่าการใช้แผ่นเหล็กหุ้มมาก  สำหรับการหุ้มเสาด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์นั้น พบว่ามีประสิทธิภาพเป็นอย่างดี จากผลการทดสอบพบว่า เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเสาที่ไม่ได้หุ้มด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ พบว่ามีความเสียหายอย่างรุนแรงที่บริเวณโคนเสา แต่เมื่อหุ้มเสาด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์แล้ว พบว่าเสาแข็งแรงขึ้นอย่างมาก

ติดตั้งคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber) หรือที่เรียกว่าเสริมกำลังโครงสร้างด้วย CFRP ตามแบบที่ผู้ออกแบบได้ออกแบบไว้ โดยคาร์บอนไฟเบอร์ Carbon Fiber ที่ใช้เสริมกำลังโครงสร้างเสานั้นนิยมใช้ Carbon Fiber ชนิด Strip หรือที่เรียกว่า Laminate (Smart fiber Strip TL512, Smart fiber Strip TL1012) เสริมตลอดแนวเสาแทนเหล็กยืน และใช้คาร์บอนไฟเบอร์ชนิด Sheet (Smart fiber Sheet UT70-30) พันเสาโดยรอบตามที่ ผู้ออกแบบกำหนดเพื่อเพิ่มการรับกำลังอัดและโอบรัด Carbon Fiber Strip ไว้ให้ติดกับโครงสร้างเสาคอนกรีต ภายหลังจากการติดตั้งแล้วเสร็จสามารถหุ้มเสาด้วย Composite หรือฉาบปูนซีเมนต์มอร์ต้าทับได้ สรุปการออกแบบเพื่อซ่อมรอยร้าวด้วย Epoxy Injection และเสริมกำลังโครงสร้างด้วย CFRP นั้นเป็นวิธีที่สะดวกรวดเร็วและเป็นที่นิยม อนึ่ง การดำเนินการเสริมกำลังโครงสร้างเสาด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber Strengthening) ต้องได้รับการออกแบบคาร์บอนไฟเบอร์  (Carbon Fiber) และจัดทำรายงานการคำนวณโดย ผู้ออกแบบและรับรองแบบโดยละเอียด โครงสร้างสำคัญเช่นเสาจึงจะปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนด

ซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต รับซ่อมโครงสร้าง เสริมกำลังคานร้าว คานหัก ซ่อมเสา ซ่อมคาน แก้ไขบ้านทรุด ด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ Carbon-Fiber Reinforced Polymer วัสดุคอมโพสิตเสริมเส้นใย ที่นำมาใช้เสริมกำลังโครงสร้าง เช่นเสริมคาน พื้น เสา พื้นไร้คาน คานลึก คาร์บอนไฟเบอร์ เป็นแผ่นที่เสริมด้วยเส้นใยคาร์บอน ที่มีกำลังรับน้ำหนักสูงมาก คือมากกว่าเหล็กถึง 10 เท่า ไม่เป็นสนิม  มีลักษณะเป็นแผ่นบาง มีน้ำหนักเบา ออกแบบให้ใช้ร่วมกันกับกาวอีพอกซี เพื่อใช้เป็นตัวยึดในการติดตั้ง ให้แผ่นยึดติดกับกับโครงสร้างคอนกรีตไม่ว่าจะเป็นการเสริมคาน พื้น หรือเสา ทำให้โครงสร้างสามารถรับน้ำหนักได้สูง

คาร์บอนไฟเบอร์ซ่อมโครงสร้าง คาร์บอนไฟเบอร์ (CFRP) เป็นวัสดุคอมโพสิตเสริมเส้นใย มีอัตราส่วนกำลังรับแรงต่อน้ำหนักสูง สามารถทนทานต่อการกัดกร่อน ไม่เป็นสนิม มีความคงทนเป็นเลิศ และสะดวกในการติดตั้ง และใช้งานกำลังรับแรงดึงเชิงกลของ CFRP มีค่าสูงถึง 10 เท่าของเหล็กเสริมธรรมดา นอกจากนี้การใช้เหล็กเสริมธรรมดายังเสี่ยงต่อการเกิดสนิมได้ง่าย แต่ CFRP ไม่ใช่เหล็กจึงไม่เกิดสนิมตามมาในอนาคต ปัจจุบันนี้การใช้วัสดุคอนกรีตและเหล็กเสริมในงานซ่อมแซมและเสริมกำลังโครงสร้าง ถือว่าทำได้ค่อนข้างยากและใช้แรงงานมาก อีกทั้งยังรบกวนการใช้งานโครงสร้างเดิมและผู้อยู่อาศัยอีกด้วย การเสริมกำลังด้วยวัสดุคอมโพสิตเสริมเส้นใย ก่อให้เกิดการรบกวนโครงสร้างในระดับที่น้อยมาก จึงเป็นวัสดุเสริมกำลังที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในมาตรฐานการออกแบบสากล เช่น มาตรฐาน ACI440 ของประเทศสหรัฐอเมริกา มาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมโยธาแห่งประเทศญี่ปุ่น และมาตรฐานของประเทศยุโรป เป็นต้น

ความสามารถของ "Carbon Fiber" (CFRP) ในงาน เสริมกำลัง เสริมโครงสร้าง ต่างๆ

1. เสริมน้ำหนักบรรทุกโครงสร้าง (Load Capacity) ด้วย Carbon Fiber (CFRP)

2. เพิ่มน้ำหนักบรรทุกจร (Live Load Increasing) ด้วย Carbon Fiber (CFRP)

3. เสริมกำลังโครงสร้าง (Structural Strengthening) ด้วย Carbon Fiber (CFRP)

4. แก้ไขการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน (Non-Standard Construction Fixing) ด้วย Carbon Fiber (CFRP)

5. เสริมกำลังต้านทานแผ่นดินไหว (Seismic Strengthening) ด้วย Carbon Fiber (CFRP)

ซ่อมโครงสร้างตึกแถว ซ่อมแซมโครงสร้างอาคาร งานซ่อมแซมโครงสร้างอาคาร คือกระบวนการบำรุงรักษาและซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตที่เสื่อมสภาพ ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในการยืดอายุและกำลังของคอนกรีตและรักษามาตรฐานความปลอดภัยของอาคาร งานซ่อมแซมโครงสร้างอาคาร สามารถดำเนินการซ่อมแซมโครงสร้างอาคารที่มีสภาวะสึกหรอและเสื่อมสภาพได้ในรูปแบบและทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น โครงสร้างคาน เสาพื้น ส่วนคอนกรีตเสริมเหล็ก จนกระทั่งอุโมงค์ใต้ดิน ทำการตรวจสอบและประเมินความเสียหายของโครงสร้างก่อนให้แน่ชัด เพื่อให้สามารถดำเนินการแก้ไขได้อย่างตรงจุด ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม ทำโครงสร้างให้สามารถกลับมารับน้ำหนักได้ดีดังเดิมและเพิ่มสมรรถภาพโดยรวมของโครงสร้างอย่างมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน 

ซ่อมคานคอนกรีต รับซ่อมคานหัก คานแตกร้าว งานซ่อมเสาแตกร้าว ซ่อมรอยร้าวตามแนวคาน ซ่อมรอยร้าวคานคอดิน งานซ่อมรอยร้าวคานสะพาน งานซ่อมรอยร้าวฐานโครงสร้างคอนกรีต งานซ่อมรอยแตกร้าวคานคอนกรีต งานซ่อมแซมโครงสร้างเสา ผุกร่อน แตกร้าว คานรับน้ำหนักไม่ไหว คานมีอาการแอ่นตัว และคานมีอาการร้าว การเสริมกำลังด้วยวัสดุคอมโพสิตเสริมเส้นใย ก่อให้เกิดการรบกวนโครงสร้างในระดับที่น้อยมาก จึงเป็นวัสดุเสริมกำลังที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในมาตรฐาน

Visitors: 23,671